วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้าน ๔ ภาค

                                                                       อาหารพื้นบ้าน๔ ภาค
                
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ 
 
 อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้ 
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม 
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามา
มีอิทธิพลอย่างมาก 
 
..... ..... ..... .....
 
 อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ 
เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย 
อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน 
มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม
จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
 ....................... 
............ผักเหนาะ.......................................สะตอ................................ลูกเหนียง
 ........................ 
..........แกงเหลือง................................แกงไตปลา



อาหารพื้นบ้านภาคกลาง
 
  
 เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนองบึงมากมาย 
จึงเป็นแหล่งอาหารทั้งพืชผักและสัตว์น้ำนานาชนิด พื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเลทำให้วัตถุดิบ 
ในการประกอบอาหารหลากหลายอุดมสมบูรณ์ 
 
...... 
............แกงเผ็ด .......................ขนมจีนน้ำยา.....................ห่อหมกปลา....................แกงมัสมั่นไก่
 
 อาหารภาคกลางมีความหลากหลายทั้งในการปรุง รสชาติ และการตกแต่งให้น่ารับประทาน 
สืบเนื่องจากการรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอก เช่น จีน อินเดีย ชาวตะวันตก 
อีกทั้งอาหารภาคกลางบางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของราชสำนักอีกด้วย 
 สำรับอาหารภาคกลางมักมีน้ำพริกและัผัีกจิ้ม โดยรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก ลักษณะอาหาร 
ที่รับประทานมักผสมผสานระหว่างภาคต่าง ๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง 
 
..... ......... ...................... 
.........................................น้ำพริกกะปิ......................................น้ำพริกลงเรือ..

..
............ ................
.............................แกงเขียวหวาน................................แกงส้ม
........................ ................ 
..............แกงเลียง.............................แกงป่า........................................แกงจืด
 
อาหารพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมไปทั่วโลกคือ ผัดไทย ต้มยำกุ้ง 
ที่ประกอบไปด้วยพืชสมุนไพรหลายชนิด และประกอบขึ้นจากพืชผักที่หาได้ในท้องถิ่นทั่วไป
ล้วนแต่มีสรรพคุณเป็นยา มีประโยชน์ต่ิอร่างกายทั้งสิ้น 
 
................ ........
.............................ผัดไทย............................................ต้มยำกุ้ง




อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
 
 ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร
แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน
ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา
ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย 
 อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น
น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู
และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล 
ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำุ์
พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน 
ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน
 
   
.... .......ไส้อั่ว ............... .....น้ำพริกหนุ่ม.... .................... แคบหมู .......... ............. .....แกงแค
 
 อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน 
เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง 
 ........  ........ 
........แกงอ่อมไก่ ........ ...... แกงอ่อมเครื่องในหมู ....... ....แกงอ่อมหมู

 ........ ........
........ ....ข้าวซอยไก่    ....... ........ ........ ........ ........ข้าวซอยลูกชิ้น

 ........ ........ 
.......แกงอังเลหมู ...... .............. ..........แกงฮังเลเนื้อ




อาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
 
 สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น 
อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ 
ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ 
จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน 
 
.............  ........
 
 ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร 
ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ
 ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง 
รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง 
 ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่ง
เกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนา
ทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน 
 
 .  ............  
................ปลาร้าอีสาน.........................................................ปลาร้าสำหรับส่งออก 

 อาหารพื้นบ้านอีสานที่มีชื่อเสียง ได้แก่
  
ตำส้มหรือส้มตำ มีหลายแบบ เช่น ตำมะละกอ ตำแตงร้่าน ตำถั่วฝักยาว ใส่มะกอกเพิ่มรสเปรี้ยว 
 ใส่ปลาร้าเพิ่มรสเค็ม เพิ่มรสเผ็ดด้วยพริก   
...... .....ตำมะละกอ.... ............ .....ตำแตง.... ........... ......... .....ตำถั่ว
 แจ่วบอง

หมายถึง ปลาร้าสับใส่เครื่องเทศ พริก หอมกระเทียม คั่วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

..... .....







บรรณานุกรม
 
  
นิชา แก้วพานิช. (2547). เสริมสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ป.5
 ช่วงชั้นที่ 2. กรุงเทพ ฯ : เดอะบุคส์. 
พัชร มาศมุสิก. (2551). คู่มือสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ป.5 ช่วงชั้นที่ 2. กรุงเทพฯ :
 เดอะบุคส์.
ยุทธพงษ์ วงศ์เมืองสรรค์. (2547). หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ 
 วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพ ฯ : ประพันธ์สาสน์. 
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2549). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
 ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ป.5. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). หนังสือเรียนสาระ
 การเรียนรู้พื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
เอกรินทร์ สี่มหาศาลและคณะ. (มปป). สื่อการเรียนรู้ สาระพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
 ศาสนาและวัฒนธรรม แม่บทมาตรฐาน ประวัติศาสตร์ ป.5. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์.
http://images.google.com/images
http://www.kingnaresuanmovie.com/trailer2_thai.php
http://www.mediafire.com/?sharekey=7ba29b80fcc0a7f6ab1eab3e9fa335ca27ecdd2a04cd7439
 


นางสาว  วิภาพร   สำคัญยิ่ง  กลุ่ม 1 56010919531